กระบวนการหรือขอบข่ายทางสถิติ

กระบวนการหรือขอบข่ายทางสถิต

การวางแผนหรือการตัดสินใจโดยใช้สถิติข้อมูลซึ่งได้จากกระบวนการทางสถิติที่ถูกต้อง จะทำให้การดำเนินงานราบรื่น ประสบผลสำเร็จได้มากขึ้นแลมีความผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งกระบวนการทางสถิติประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
1.การวางแผนการทดลอง(Experimental Design)หรือการวางแผนการสำรวจ ในขั้นตอนแรกเราต้องพิจารพิจารณาว่าปัญหาหรือสิ่งที่กำลังศึกษาเป็นงานที่ต้องอาศัย วิธีการทดลองแบบใด แต่ละวิธีมีกระบวนการอย่างไร
2.การเก็บรวบรวมข้อมูล(Collecting of Data) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ระเบียบวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสำมะโน การสำรวจด้วยตัวอย่าง การทะเบียน การทดลอง และการสังเกต และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์ การทอดแบบ การสังเกตุ และการนับจด ซึ่งในการสำรวจด้วยตัวอย่างต้องมีแผนการเลือก หรือเลือกสุ่มตัวอย่าง และในการทดลองต้องมีแผนการทดลองเพื่อที่จะทำให้ได้ผลการทดลอง ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้มากที่สุด
3.การนำเสนอข้อมูล(Presentation) เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เก็บรวบรวม ได้มาวิเคราะห์และประมวลผล ในขั้นต้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจ และใช้ในการวิเคราะขั้นตอนต่อไป การนำเสนอข้อมูลอาจนำเสนอใน ลักษณะของบทความ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ เพื่อให้เข้าใจง่ายและสะดวกในการนำไปใช้
4.การประมาณค่า(Estimation) หรือการคำนวณค่าทางสถิติ เป็นขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น หรือเรียกว่า สถิติพรรณนา ซึ่งจะเป็นการสรุปลักษณะข้อมูล โดยพิจารณาจากความถี่ สัดส่วนหรือร้อยละ การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นอาจนำไป ใช้ได้ทันที่
5.การวิเคราะห์(Analysis) เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง หรือเรียกว่า สถิติอนุมาน โดยนำ ข้อมูลที่ได้จากตัวอย่างสุ่มไปสรุปค่าของประชากร โดยการประมาณค่า การทดสอบสมมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และการทดถอย
6.การแปลความหมายและสรุปผล(Interpretation) เป็นการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ มาพิจารณาแปลความหมายในทางที่จะสื่อในทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์ได้ และสรุปผล การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมด ก็จะสามารถนำไปอ้างอิงประกอบ การตัดสินใจและวางแผนได้เป็นอย่างดี

ที่มา….http://e-learning.snru.ac.th/els/sombon/index_t7.html

ใส่ความเห็น